25521128

ขนมไทยหายาก

บุหลันดั้นเมฆ
ลักษณะของขนมจะคล้ายขนมน้ำดอกไม้ เป็นขนมชาววังคิดประดิษฐ์ขึ้น ให้มีสีสันอุปมาอุปไมยเลียนแบบเพลงไทย 'บุหลันลอยเลื่อน' ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มี 2 ส่วน คือ ส่วนตัวขนม ทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำดอกอัญชัน น้ำตาลทราย หยอดลงบนถ้วยตะไล เมื่อนำไปนึ่งตรงกลางจะบุ๋มลงไป ส่วนตัวหน้าขนม ประกอบด้วย ไข่ กะทิ น้ำตาลมะพร้าว และนำไปนึ่งต่อจนสุกเมื่อรับประทานจะให้ความรู้สึกถึงความหอมหวานของน้ำดอกอัญชันกับกลิ่นน้ำตาลมะพร้าว


หันตราหรือขนมฝอย
เป็นขนมโบราณ ที่ใช้ในงานหมั้น ซึ่งแสดงถึงการตีตราจองว่าหญิงนั้นมีคู่หมั้นแล้ว ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือก ที่นำมากวนกับน้ำตาลทราย แล้ว ปั้นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ กดตรงกลางให้บุ๋มแล้วมาห่อด ้วยไข่ที่ทำเป็นตาราง ขนมชนิดนี้เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่มีหน้าตาน่ารับประทาน เนื่องด้วยตัวของไส้ขนมและตัวไข่ที่นำมาหุ้มมีสีเหลืองทองที่เข้ากันอย่างเหมาะเจาะ แลดูคล้ายขนมตระกูลทอง




เกสรชมพู่
ขนมไทยโบราณ เมื่อได้มองครั้งแรกอาจจะคิดว่าขนมชนิดนี้คือ "ข้าวเหนียวแก้ว" แต่ถ้าพิศมองให้ดีจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะมีลักษณะแข็งกระด้างของข้าวเหนียว ส่วนเกสรชมพู่จะดูนุ่มนวล อ่อนโยน ที่ทำจากมะพร้าวขูดขาว ผัดกับน้ำและน้ำตาลทราย ใส่วุ้นกวนให้เข้ากันใส่สีชมพูแก่ แล้วตักใส่ถ้วย เรื่องรสชาติเกสรชมพู่จะมีความมัน ความหอมของมะพร้าว และมีความหวานเป็นเอกลักษณ์


เห็ดโคน
ทำจากไข่ขาวตีกับน้ำตาลทรายป่นจนตั้งยอด ใส่น้ำมะนาวเพื่อให้ไข่ไม่เหลว นำกระดาษขาวหนา ๆ มาม้วนเป็นกรวย ใส่น้ำตาลที่ตีแล้ว บีบกลม ๆ เป็นหัวเห็ด แล้วบีบยาว ๆ เป็นก้านเห็ด นำไปอบ พอสุกแล้วนำส่วนหัวมาเจาะตรงกลาง เพื่อติดกับตัวก้านเห็ดโดยใช้น้ำเชื่อม นำผงโกโก้ มาร่อนตระแกรงละเลงโรยบนหัวเห็ด สำหรับคนชอบกินเห็ดอาจจะเข้าใจผิดก็ได้เมื่อได้เห็นขนมชนิดนี้ เพราะคุณจะแยกไม่ออกว่าอันไหนเห็ดจริงอันไหนคือขนมเห็ด ส่วนเรื่องรสชาติจะออกหวานๆ เมื่อนำเข้าไปสัมผัสกับลิ้นแล้ว แทบจะละลายไปทันที

ตะลุ่ม
มีสองส่วน คือส่วนตัวขนม ทำแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม แป้งมันสำปะหลัง น้ำปูนใส และหางกะทิ นำไปนึ่งจนสุก ส่วนของตัวหน้า ได้แก่ หัวกะทิ ไข่ และน้ำตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทลงบนตัวที่สุกแล้ว นำไปนึ่ง เวลาเสิร์ฟตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดพอดีคำหรือลักษณะตามชอบ เวลาจะรับประทานควรรับประทานพร้อมกันเพราะให้รสชาติที่หวาน มัน และมีกลิ่นหอมของกะทิยามรับประทานในคำเดียวกัน

ขนมเทียนแก้ว หรือ ขนมนมสาว

เปรียบเสมือนแสงสว่าง ลักษณะที่สวยถูกต้อง ต้องปลายแหลม และฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางได้โดยไม่เสียรูปทรง ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก กวนกับกะทิและน้ำตาลทราย อบด้วยควันเทียน ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ นำแป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหริ่ม กวนกับน้ำตาลทราย และน้ำลอยดอกมะลิ ขนมชนิดนี้จะให้กลิ่นหอมสดชื่นน่ากินของควันเทียนและน้ำลอยดอกมะลิที่อบอวลอยู่ในเนื้อขนม

ขนมพระพาย

เป็นขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงาน ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำดอกมะลิ ใส่สีต่างๆ เพื่อหุ้มไส้ ที่ประกอบด้วยถั่วเขียวเลาะเปลือกที่บดละเอียด ผสมกับกะทิ และน้ำตาล ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เมื่อหุ้มเสร็จแล้ว นำมาวางบนใบตองที่ตัดเป็นกลม ๆเมื่อนึ่งสุกแล้ว พรมด้วยหัวกะทิเมื่อดูจากลักษณะภายนอกอาจจะดูคล้าย ขนมช็อกโกแลตชนิดหนึ่งที่กลมๆ เงาๆมันๆ น่ากัด น่ากิน


ขนมหม้อตาล

เป็นขนมโบราณ ที่ใช้ในพิธีแต่งงาน เรียกว่า "หม้อเงิน หม้อทอง"

ตัวถ้วยขนม ผสมแป้งสาลี น้ำเย็น ไข่แดง กรุแป้งในพิมพ์หม้อตาล อบให้สุก ไส้ ผสมน้ำตาลทรายกับน้ำเคี่ยวให้ข้น ตักใส่ถ้วย หยดสีตามต้องการ หยอดลงในพิมพ์ ให้น้ำตาลแห้ง ดูจากลักษณะภายนอกดูกระจุ๋มกระจิ๋มน่ารัก หลากสีสันชวนน้ำลายสอ เมื่อลองลิ้มชิมรสเนื้อแป้งของขนมที่กรอบจะเข้ากันดีกับตัวน้ำตาลที่หวานกำลังดี


ขนมโพรงแสม

ขนมชนิดนี้ใช้ในพิธีแต่งงาน โดยแทนเสาบ้านเสาเรือน เพื่อให้คู่บ่าวสาวอยู่กันยั่งย ืนและร่ำรวย ลักษณะคล้ายๆขนมทองม้วน แต่ขนมชนิดนี้จะมีความแตกต่างอยู่ตรงที่มีน้ำตาลเคลือบพันร้อยอยู่ที่ตัวขนม เมื่อตัวขนมได้ถูกบดขยี้กับฟันและลิ้นที่สัมผัสรส จะให้ความรู้สึกกรุบกรอบน่ากัดกิน ผสมกับความหวานของน้ำตาลที่เคลือบขนมอย่างลงตัวไม่ที่ไม่หวานมากนัก ก็ยิ่งทำให้ขนมชนิดนี้เหมาะสำหรับการกินเล่น กับน้ำชาตอนบ่าย


ขนมสามเกลอ

เป็นขนมเสี่ยงทายในพิธีแต่งงาน ถ้าขนมยังติดกันทั้ง 3 ลูกในขณะที่ทอด หมายความว่า คู่บ่าวสาวที่จะแต่งงานจะอยู่ด้วยกันดี ตลอดจนมีลูกด้วยกัน แต่ติดกันอยู่เพียง 2 ลูก หมายความว่า มีลูกยากหรือไม่มี ถ้าแยกหรือหลุดออกทั้ง 3 ลูก หมายความว่า อยู่ด้วยกันไม่ยืด ขนมชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นไส้ที่ทำจากน้ำตาลมะพร้าว มะพร้าวขูด และงา แล้วเอามาหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียว ส่วนที่สอง ทำจากไข่ไก่ (อาจจะใส่สีผสมอาหารด้วย เพื่อเพิ่มความสวยงาม) ที่นำมาโรยบนกระทะเป็นแผ่นบางๆ เพื่อนำมาห่อตัวขนม

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น