25521128

ขนมไทยหายาก

บุหลันดั้นเมฆ
ลักษณะของขนมจะคล้ายขนมน้ำดอกไม้ เป็นขนมชาววังคิดประดิษฐ์ขึ้น ให้มีสีสันอุปมาอุปไมยเลียนแบบเพลงไทย 'บุหลันลอยเลื่อน' ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มี 2 ส่วน คือ ส่วนตัวขนม ทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำดอกอัญชัน น้ำตาลทราย หยอดลงบนถ้วยตะไล เมื่อนำไปนึ่งตรงกลางจะบุ๋มลงไป ส่วนตัวหน้าขนม ประกอบด้วย ไข่ กะทิ น้ำตาลมะพร้าว และนำไปนึ่งต่อจนสุกเมื่อรับประทานจะให้ความรู้สึกถึงความหอมหวานของน้ำดอกอัญชันกับกลิ่นน้ำตาลมะพร้าว


หันตราหรือขนมฝอย
เป็นขนมโบราณ ที่ใช้ในงานหมั้น ซึ่งแสดงถึงการตีตราจองว่าหญิงนั้นมีคู่หมั้นแล้ว ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือก ที่นำมากวนกับน้ำตาลทราย แล้ว ปั้นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ กดตรงกลางให้บุ๋มแล้วมาห่อด ้วยไข่ที่ทำเป็นตาราง ขนมชนิดนี้เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่มีหน้าตาน่ารับประทาน เนื่องด้วยตัวของไส้ขนมและตัวไข่ที่นำมาหุ้มมีสีเหลืองทองที่เข้ากันอย่างเหมาะเจาะ แลดูคล้ายขนมตระกูลทอง




เกสรชมพู่
ขนมไทยโบราณ เมื่อได้มองครั้งแรกอาจจะคิดว่าขนมชนิดนี้คือ "ข้าวเหนียวแก้ว" แต่ถ้าพิศมองให้ดีจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะมีลักษณะแข็งกระด้างของข้าวเหนียว ส่วนเกสรชมพู่จะดูนุ่มนวล อ่อนโยน ที่ทำจากมะพร้าวขูดขาว ผัดกับน้ำและน้ำตาลทราย ใส่วุ้นกวนให้เข้ากันใส่สีชมพูแก่ แล้วตักใส่ถ้วย เรื่องรสชาติเกสรชมพู่จะมีความมัน ความหอมของมะพร้าว และมีความหวานเป็นเอกลักษณ์


เห็ดโคน
ทำจากไข่ขาวตีกับน้ำตาลทรายป่นจนตั้งยอด ใส่น้ำมะนาวเพื่อให้ไข่ไม่เหลว นำกระดาษขาวหนา ๆ มาม้วนเป็นกรวย ใส่น้ำตาลที่ตีแล้ว บีบกลม ๆ เป็นหัวเห็ด แล้วบีบยาว ๆ เป็นก้านเห็ด นำไปอบ พอสุกแล้วนำส่วนหัวมาเจาะตรงกลาง เพื่อติดกับตัวก้านเห็ดโดยใช้น้ำเชื่อม นำผงโกโก้ มาร่อนตระแกรงละเลงโรยบนหัวเห็ด สำหรับคนชอบกินเห็ดอาจจะเข้าใจผิดก็ได้เมื่อได้เห็นขนมชนิดนี้ เพราะคุณจะแยกไม่ออกว่าอันไหนเห็ดจริงอันไหนคือขนมเห็ด ส่วนเรื่องรสชาติจะออกหวานๆ เมื่อนำเข้าไปสัมผัสกับลิ้นแล้ว แทบจะละลายไปทันที

ตะลุ่ม
มีสองส่วน คือส่วนตัวขนม ทำแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม แป้งมันสำปะหลัง น้ำปูนใส และหางกะทิ นำไปนึ่งจนสุก ส่วนของตัวหน้า ได้แก่ หัวกะทิ ไข่ และน้ำตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทลงบนตัวที่สุกแล้ว นำไปนึ่ง เวลาเสิร์ฟตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดพอดีคำหรือลักษณะตามชอบ เวลาจะรับประทานควรรับประทานพร้อมกันเพราะให้รสชาติที่หวาน มัน และมีกลิ่นหอมของกะทิยามรับประทานในคำเดียวกัน

ขนมเทียนแก้ว หรือ ขนมนมสาว

เปรียบเสมือนแสงสว่าง ลักษณะที่สวยถูกต้อง ต้องปลายแหลม และฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางได้โดยไม่เสียรูปทรง ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก กวนกับกะทิและน้ำตาลทราย อบด้วยควันเทียน ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ นำแป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหริ่ม กวนกับน้ำตาลทราย และน้ำลอยดอกมะลิ ขนมชนิดนี้จะให้กลิ่นหอมสดชื่นน่ากินของควันเทียนและน้ำลอยดอกมะลิที่อบอวลอยู่ในเนื้อขนม

ขนมพระพาย

เป็นขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงาน ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำดอกมะลิ ใส่สีต่างๆ เพื่อหุ้มไส้ ที่ประกอบด้วยถั่วเขียวเลาะเปลือกที่บดละเอียด ผสมกับกะทิ และน้ำตาล ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เมื่อหุ้มเสร็จแล้ว นำมาวางบนใบตองที่ตัดเป็นกลม ๆเมื่อนึ่งสุกแล้ว พรมด้วยหัวกะทิเมื่อดูจากลักษณะภายนอกอาจจะดูคล้าย ขนมช็อกโกแลตชนิดหนึ่งที่กลมๆ เงาๆมันๆ น่ากัด น่ากิน


ขนมหม้อตาล

เป็นขนมโบราณ ที่ใช้ในพิธีแต่งงาน เรียกว่า "หม้อเงิน หม้อทอง"

ตัวถ้วยขนม ผสมแป้งสาลี น้ำเย็น ไข่แดง กรุแป้งในพิมพ์หม้อตาล อบให้สุก ไส้ ผสมน้ำตาลทรายกับน้ำเคี่ยวให้ข้น ตักใส่ถ้วย หยดสีตามต้องการ หยอดลงในพิมพ์ ให้น้ำตาลแห้ง ดูจากลักษณะภายนอกดูกระจุ๋มกระจิ๋มน่ารัก หลากสีสันชวนน้ำลายสอ เมื่อลองลิ้มชิมรสเนื้อแป้งของขนมที่กรอบจะเข้ากันดีกับตัวน้ำตาลที่หวานกำลังดี


ขนมโพรงแสม

ขนมชนิดนี้ใช้ในพิธีแต่งงาน โดยแทนเสาบ้านเสาเรือน เพื่อให้คู่บ่าวสาวอยู่กันยั่งย ืนและร่ำรวย ลักษณะคล้ายๆขนมทองม้วน แต่ขนมชนิดนี้จะมีความแตกต่างอยู่ตรงที่มีน้ำตาลเคลือบพันร้อยอยู่ที่ตัวขนม เมื่อตัวขนมได้ถูกบดขยี้กับฟันและลิ้นที่สัมผัสรส จะให้ความรู้สึกกรุบกรอบน่ากัดกิน ผสมกับความหวานของน้ำตาลที่เคลือบขนมอย่างลงตัวไม่ที่ไม่หวานมากนัก ก็ยิ่งทำให้ขนมชนิดนี้เหมาะสำหรับการกินเล่น กับน้ำชาตอนบ่าย


ขนมสามเกลอ

เป็นขนมเสี่ยงทายในพิธีแต่งงาน ถ้าขนมยังติดกันทั้ง 3 ลูกในขณะที่ทอด หมายความว่า คู่บ่าวสาวที่จะแต่งงานจะอยู่ด้วยกันดี ตลอดจนมีลูกด้วยกัน แต่ติดกันอยู่เพียง 2 ลูก หมายความว่า มีลูกยากหรือไม่มี ถ้าแยกหรือหลุดออกทั้ง 3 ลูก หมายความว่า อยู่ด้วยกันไม่ยืด ขนมชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นไส้ที่ทำจากน้ำตาลมะพร้าว มะพร้าวขูด และงา แล้วเอามาหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียว ส่วนที่สอง ทำจากไข่ไก่ (อาจจะใส่สีผสมอาหารด้วย เพื่อเพิ่มความสวยงาม) ที่นำมาโรยบนกระทะเป็นแผ่นบางๆ เพื่อนำมาห่อตัวขนม

















อ้างอิง

http://www.lib.ru.ac.th/journal/kanom.html

http://www.ezythaicooking.com/thai_dessert_recipes.html

http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=4&post_id=28825

ขนมไทยของขวัญนานาเทศกาล

ขนมไทย มีมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นขนมไทยแบบโบราณ และขนมที่รับมาจากต่างประเทศจนกลืนเป็น ขนมของไทย ด้วยความช่างประดิดประดอย คิดค้นและวิวัฒนาการของคนไทย ทำให้ ขนมไทย โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีคุณค่าในตัวเอง ปัจจุบันคนไทยหันมานิยมใช้ ขนมไทย เป็นของขวัญของฝากในนานาเทศกาลไม่ว่าจะเป็น วันขึ้นปีใหม่ไทยหรือสากล วันคล้ายวันเกิด วันขึ้นบ้านใหม่ วันเกษียณอายุราชการ ฯลฯ ขนมไทยกับความหมายให้เลือกใช้ตามเทศกาล
· ขนมชั้น - ความเจริญก้าวหน้าในขั้น เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนชั้น
· ขนมจ่ามงกุฎ - ความเจริญก้าวหน้า เป็นหัวหน้า เลื่อนยศ
· ขนมถ้วยฟู - ความเจริญฟูเฟื่อง รุ่งเรือง
· ขนมตาล - ความหวานชื่น ราบรื่นของชีวิต
· ขนมทองเอก - ความเป็นหนึ่ง
· ขนมลูกชุบ - ความน่ารักน่าเอ็นดู มักใช้กับผู้ใหญ่ให้กับผู้น้อย
· ข้าวเหนียวแก้ว - ความดีประเสริฐ ดุจดังแก้ว
· ขนมเสน่ห์จันทร์ - ความมีเสน่ห์ดุจจันทร์วันเพ็ญ ฯลฯ
ที่สำคัญหากเป็นขนมที่ทำขึ้นเอง รสอร่อย สวยงาม ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจจริงของผู้ให้ พร้อมบัตรคำอวยพรที่มีความหมายคล้องจองกับขนมที่ให้จะประทับใจทั้งผู้ให้และผู้รับ



ขนมไทยสู่ตลาดโลก






ปัจจุบัน ขนมไทย ก้าวไกลสู่ตลาดนานาประเทศทั่วโลกสามารถทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทยของเราอีกทางหนึ่ง เช่น ขนมไทย จาก บ้านขนมไทยนพวรรณ ของอาจารย์นพวรรณ จงสุขสันติกุล
เมื่อพูดถึงขนมไทย หลายคนอาจนึกถึงความหวานมันของกะทิ และความหวานของน้ำตาล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพมากมาย แต่ถ้าพูดถึง ขนมไทยเพื่อสุขภาพ หลายคนอาจสงสัยว่า ความหวานกับความมัน จะดีต่อสุขภาพได้อย่างไร? แต่อาจารย์นพวรรณทำได้ โดยพัฒนา รูปแบบ และดัดแปลงความหวาน ด้วยการใช้ ความหวานจากผลไม้ ส่วน ความมันกะทิ ก็ลดปริมาณลงแล้วใส่ข้าวบาร์เลย์แทนหรือการนำ พืชผัก และสมุนไพร มาเป็นส่วนผสมด้วย เช่น ดอกอัญชันแทน สีน้ำเงิน ดอกคำฝอยแทน สีแดง ใบเตยแทน สีเขียว หรือ ใส่งาดำ เพิ่มคุณค่าอาหาร ทำให้เกิด ขนมไทย รูปแบบใหม่ ที่มีความอร่อยลงตัว และ ส่งผลดีต่อสุขภาพได้ด้วย บ้านขนมไทยนพวรรณ มีขนมให้เลือกมากมายกว่า ๑๐๐ ชนิด ด้วยการผลิตที่สดใหม่ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำชื่อเสียงให้กับบ้านขนมไทย เน้นการจัดตกแต่งและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ทำให้ขนมไทยนพวรรณ มีชื่อเสียงและขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศในรูปแบบแฟรนไชส์ ที่มีมาตรฐานและคุณภาพ ช่วยให้ท่านสามารถเลือกใช้ขนมไทยในโอกาสพิเศษ เช่น งานเลี้ยงต่างๆ หรือการประชุม หรือเป็นของขวัญของฝากผู้ใหญ่ ญาติสนิทมิตรสหายได้ทุกเทศกาล หรือจะทำเป็นธุรกิจ SME ส่วนตัว ก็สามารถทำได้




ขนมไทยในพิธีกรรม




ขนมที่นิยมใช้ทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคลหรือพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ ได้แก่
· ขนมตระกูลทอง เช่น ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และ
· ขนมมงคลนาม เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมเสน่ห์จันทร์
ขนมไทยในพิธีกรรมต่างๆ มีดังนี้
พิธีแต่งงาน นอกจากจะมีขนมมงคลนามที่ใช้ในงานมงคลแล้ว ที่ต้องมีคือ
· ขนมกง รูปร่างเป็นล้อรถไม่มีรอยต่อ มีความเชื่อว่าจะทำให้ความรักของคู่บ่าวสาวจีรัง ไม่มีวันแยกจากกัน
· ขนมโพรงแสม มีรูปร่างยาวใหญ่คล้ายกับเสาเรือน ทำให้อยู่กันยืนยาว
· ขนมสามเกลอ มีลักษณะเป็นสามก้อนติดกัน ให้คู่บ่าวสาวเสี่ยงทายว่าจะอยู่ด้วยกันได้นานหรือไม่ หากขนมแยกจากกันก็ถือว่าไม่ใช่เนื้อคู่ที่แท้จริง นอกจากนี้ยังมี
· ขนมใส่ไส้
· ขนมฝักบัว
· ขนมบ้าบิ่น
· ขนมนมสาว อีกด้วย
พิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดาและพระภูมิ นิยมใช้ขนมที่เป็นมงคลนามแล้ว ก็มีขนมตามความเชื่อ ในลัทธิพราหมณ์ ดังนี้
· ขนมต้มแดง
· ขนมต้มขาว
· ขนมเล็บมือนาง
· ขนมคันหลาว
· ขนมดอกจอก
· ขนมทองหยิบ
· ขนมถั่วแปบ
· ขนมหูช้าง
· ข้าวเหนียวแดง
· ขนมประเภทบวชต่างๆ

ขนมไทยในวิถีไทย



วิถีชีวิตของคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตรที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น กล้วย อ้อย มะม่วง รวมไปถึงข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ฯลฯ ที่สามารถปรุงเป็น ขนม ได้มากมายหลายชนิด เช่น อยากได้ กะทิ ก็เก็บมะพร้าวมาขูดคั้นน้ำกะทิ อยากได้ แป้งก็นำข้าวมาโม่เป็นแป้งทำขนมอร่อยๆ เช่น บัวลอย กินกันเองในครอบครัว
ขนมไทยถูกนำไปใช้ในงานบุญตามประเพณีและงานพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องในวิถีชีวิตชาวไทย โดยนิยมทำขนมชื่อมีมงคล ได้แก่ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย เพราะคนไทยถือว่า "ทอง" เป็น ของดีมีมงคลทำแล้วได้มีบุญกุศล มีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมชื่อขนมนั่นเอง
ขนมไทยในงานประเพณี ที่นิยมใช้ในงานประเพณีต่างๆ มีดังนี้

  • เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย จะใช้ขนมที่เป็นมงคลนาม จัดเป็นขนมชั้นดีใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระ แล้วก็เตรียมขนมสำหรับรับรองแขกเหรื่อ ที่มารดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ สมัยโบราณจะกวนกะละแมแต่ปัจจุบันอาจใช้ขนมอื่นๆ ที่อร่อยและสวยงาม เช่น ขนมชั้น ขนมลูกชุบ ตามความสะดวก


  • เทศกาลเข้าพรรษา (แรม ๑ ค่ำเดือน ๘) ขนมไทยที่ใช้ได้แก่ ข้าวต้มมัดและขนมแกงบวดต่างๆ เช่น ฟักทองแกงบวด กล้วยบวชชี เป็นต้น


  • เทศกาลออกพรรษา มีพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ขนมที่ใช้ในการทำบุญ คือข้าวต้มลูกโยน


  • สารทไทย เป็นงานประเพณีที่ชาวไทยทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ จะมีขนมไทยประจำภาค อาทิ ภาคเหนือ : กล้วยตาก เพราะมีกล้วยมาก นอกจากตากก็มีกวนและของแช่อิ่ม ภาคกลาง : กระยาสารท เคียงคู่กับกล้วยไข่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เรียกว่า งานบุญข้าวจี่ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมเทียน ข้าวจี่ ภาคใต้ : เรียกว่างานบุญเดือนสิบ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมลา ขนมกง ขนมพอง



ขนมไทย

ขนมไทย หัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ที่สามารถนำวัสดุมีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานได้มากหลายรูปแบบ จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วน มีเสน่ห์ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ให้ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รสชาติของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับประทาน แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ
คำว่า "ขนม" เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่มาผสมกันคือ "ข้าวหนม" และ "ข้าวนม" เข้าใจว่าเป็นข้าวผสมน้ำอ้อย น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่า หวาน ข้าวหนม ก็แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้นๆ เร็วๆ ก็กลายเป็น ขนม ไป ส่วนที่ว่ามาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) นั้นดูจะเป็นตำนานแขกโบราณ อย่างข้าวมธุปายาส (ที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม)
คำว่า ขนม มีใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแน่นอนได้ เช่นเดียวกับไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า "ขนมไทย" เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก แต่ตามประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิลาจารึก เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ "ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย อ้ายตื้อ" ถามผู้ใหญ่ดูถึงได้รู้ว่า ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ "น้ำกะทิ" โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม ๔ อย่างนี้ว่า "ประเพณี ๔ ถ้วย"
ขนมประเภทที่ใช้ข้าว (แป้ง) น้ำตาล มะพร้าว คงจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะมีการติดต่อกับต่างประเทศ กล่าวว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาวิชาเยนชร์บรรดาศักดิ์ "ท้าวทองกีบม้า" ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับชาวพนักงานของหวาน ได้ประดิษฐ์คิดค้นขนมตระกูลทองเพราะมีไข่ผสมคือ ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ฝอยทอง ทองโปร่ง เป็นต้น
กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ ที่ทรงพระราชนิพนธ์ ชมพระศรีสุริเยนทรา บรมราชชนนีด้วยกระบวนแต่งเครื่องเสวย ที่ไม่มีผู้ใดจะเสมอได้ในครั้งนั้น ด้วยกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ที่ไพเราะยิ่ง ในฝีพระหัตถ์ด้วย
โคลง

สังขยาหน้าไข่คุ้น
เคยมี
แกมกับข้าวเหนียวสี
โศกย้อม
เป็นนัยนำวาที
สมรแม่ มาแม่
แถลงว่าโศกเมอพร้อม
เพียบแอ้ อกอร

กาพย์

* สังขยาหน้าตั้งไข่
ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดง
เป็นนัยไม่เคลือบแคลง
แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ
* ซ่าหริ่มลิ้มหวานล้ำ
แทรกใส่น้ำกะทิเจือ
วิตกอกแห้งเครือ
ได้เสพย์หริ่มพิมเสนโรย
* ลำเจียกชื่อขนม
นึกโฉมฉมหอมชวยโชย
ไกลกลิ่นดิ้นแดโดย
โหยไห้หาบุหงางาม
* มัศกอดกอดอย่างไร
น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ
ขนมนามนี้ยังแคลง
* ลุตตี่ นี่น่าชม
แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
โอชาหน้าไก่แกง
แคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
* ขนมจีบเจ้าจีบห่อ
งามสมส่อประพิมประพาย
นึกน้องนุ่งจีบถวาย
ชายพกจีบกลีบแนบเนียน
* รสรักยักลำนำ
ประดิษฐ์ทำขนมเทียน
คำนึงนิ้วนางเจียน
เทียนหล่อเหลาเกลากลึงกลม
* ทองหยิบทิพย์เทียมทัด
สามหยิบชัดน่าเชยชม
หลงหยิบว่ายาดม
ก้มหน้าเมินเขินขวยใจ
* ขนมผิงผิงผ่าวร้อน
เพียงไฟฟอนฟอกทรวงใน
ร้อนนักรักแรมไกล
เมื่อไรเห็นจะเย็นทรวง
* รังไรโรยด้วยแป้ง
เหมือนนกแกล้งทำรังรวง
โอ้อกนกทั้งปวง
ยังยินดีด้วยมีรัง
* ทองหยอดทอดสนิท
ทองม้วนมิดคิดความหลัง
สองปีสองปิดบัง
แต่ลำพังสองต่อสอง
* งามจริงจ่ามงกุฎ
ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง
เรียมร่ำคำนึงปอง
สะอิ้งน้องนั้นเคยแล
* บัวลอยเล่ห์บัวงาม
คิดบัวถามแก้วกับตน
ปลั่งเปล่งเคร่งยุคล
สถนนุชดุจประทุม
* ช่อม่วงเหมาะมีรส
หอมปรากฏกลโกสุม
คิดสีสไบคลุม
หุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน
* ฝอยทอง เป็นยองใย
เหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
คิดความยามเยาวมาลย์
เย็บชุนใช้ไหมทองจีนฯ
ขนมไทย